วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

งานม.2/3

ให้นักเรียนศึกษาความรู้จากหน่วยที่ 5 และทำรายงานบทที่ 5

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

งานม.2.3

ให้นักเรียนค้นคว้า หัวข้อต่อไปนี้(ส่งท้ายชม.)
1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
2. วิธีการดำเนินการวิจัย
ส่งตัวแทนออกมา อภิปรายหน้าห้อง ท้าย ชม.ที่ 2

สมมติฐาน

สมมุติฐาน  ( Hypothesis)  
ความหมายของสมมติฐาน  
                สมมติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือสมมติฐานคือข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมาติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2.เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีการทางสถิติ 
ชนิดของสมมุติฐาน
สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานการสถิติ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis)  เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร  แบ่งออกเป็น 2  อย่างคือ
      1.1 สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง  ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า
 “ ดีกว่า ” หรือ  “ สูงกว่า ” หรือ “ ต่ำกว่า ” หรือ “ น้อยกว่า” ในสมมติฐานนั้นๆดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า “ ทางบวก ” หรือ “ทางลบ ” ในสมมติฐานนั้นๆ  เช่น
                -  ครูประจำการมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าครูฝึกสอน
                -  นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท
                -  ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง
                -  ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง
      1.2 สมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง
2. สมมติฐานทางสถิติ  Statistical hypothesisเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
      2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง……….. หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……...…… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ   เช่น   H0 : µ1 = µ2   หรือ  H0 : µ1  µ2  หรือ                         H0 : µ1  µ2  เป็นต้น
    2.2 สมมติฐานเลือก (Alternative hypothesis) ได้แก่  สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 เช่น  H1 : µ1 > µ2  หรือ  H1 : µ1 < µ2  หรือ  H1 = µ1  µ2  เป็นต้น 
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง
H1 = µ1 ¹ µ2
การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2
การตั้งสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ เช่น จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจ อาจนำมาสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดโดยตั้งสมมติฐานว่า "บุคลากรที่มีระดับแรงจูงใจสูงจะมีประสิทธิผลการทำงานสูงกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจระดับต่ำ" จะเห็นได้ว่าสมมติฐานนั้นสามารถสังเกตได้จากความเป็นจริงโดยผู้วิจัยเขียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายของทฤษฎี
2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ประโยคสมมติฐานจะชี้แนวทางการออกแบบการวิจัย แนวทางการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความข้อมูลได้ชัดเจน เช่น "ปัญหาการวิจัยเรื่อง ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนในเรื่องการให้นมมารดาในหญิงครรภ์แรกที่มีหัวนมผิดปกติ" จากปัญหาการวิจัยจะทราบว่าในการวิจัยต้องมีการสอนมารดาเรื่องการให้นมมารดาแก่ทารก และวัดผลการสอน แต่เมื่อเขียนสมมติฐานเช่น มารดาหัวนมผิดปกติที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนมีประสิทธิผลในการให้นมมารดาแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าสมมติฐานชี้บอกเราว่าการวิจัยต้องเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีมารดาหัวนมผิดปกติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอน เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองวัดประสิทธิผลการให้นมมารดา จากทั้งสองกลุ่ม นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง ดังนั้น สมมติฐานมีประโยชน์ แก่ผู้วิจัยในการออกแบบการวิจัยด้วย
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้
ประเภทขอสมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร
2. สมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง………………………… หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……………………… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ
H0 : µ1 = µ2
เมื่อ µ1 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 1
µ2 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 2
2.2 สมมติฐานเลือก ได้แก่สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น
H1 = µ1 ¹ µ2
การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น
H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2
การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)
ตัวอย่างสมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
สมมติฐานทางวิจัย มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการจัดท่าคลอดแตกต่างกันจะมีระยะ
เวลาคลอดระยะที่ 2 แตกต่างกัน
สมมติฐานทางสถิติ
H 0 : µ 1 = µ 2
เมื่อ µ1 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 1
µ2 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 2
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาคลอดในท่านอนหงาย แตกต่างกับการคลอดท่านอน
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาที่คลอดในท่านอนหงาย มากกว่า มารดาที่คลอดในท่านอนตะแคงซ้าย
หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยสมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง
เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611).
พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/399640

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อย่าลืม

วันนี้วันศุกร์แล้วนะคะเด็ก ๆ  อย่าลืมส่งรูปเล่ม ทำเพาเวอร์พอยต์ และจัดบอร์ด
เราจะนำเสนอกันอาทิตย์หน้านะ
มีกลุ่มที่ส่งงานอยู่สองกลุ่มนะ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งาน IS2 ม.2.4

แบบทดสอบวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ
1. นางสาวงดงาม ต้องการเขียนรายงานทางวิชาการ เรื่อง หนองทุ่งมนกับวีถีชีวิตคนในอำเภอเจริญศิลป์
ซึ่งบ้านหนองทุ่งมน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเจริญศิลป์ ซึ่งมีประชากร 350 คน ประชากรส่วนมากมีอาชีพ ทำนา
ทำไร่ มีฐานะยากจน ในหมู่บ้าน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ สภาพถนน เป็นถนนคอนกรีต แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นเขียนอย่างไร
ดังนั้นจึงให้นักเรียนช่วยนางสาวงดงาม เขียนโครงร่างงานวิจัยในหัวข้อต่อไปนี้

1.1 ชื่อเรื่องที่จะทำการศึกษา..........การศึกษาสภาพปัญหา.......................................
1.2)
 ที่มาและความสำคัญ(3 ย่อหน้า)
1.2)
 วัตถุประสงค์ (อย่างน้อย 3 ข้อ)
1.3)
  สมมติฐาน (อย่างน้อย 3 ข้อ)
ส่งท้ายชั่วโมง